ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์การบริหารงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): An Analysis of Income Budget Management Across Chiang Mai University
ผู้แต่ง : วัชญา ศิริวรุณรักษ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 16-Nov-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประมาณการรายรับที่ตั้งไว้เปรียบเทียบกับรายรับจริงทั้งหมดของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา โดยใช้การทดสอบความเป็นอิสระต่อกัน โดยวิธี Chi-square test for independence รวมถึงศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์รายรับจริงเปรียบเทียบกับรายจ่ายจากการดำเนินงาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ โดยวิธีของเพียร์สัน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มสาขาวิชาของมหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาละ 3 สาขาวิชา โดยแบ่งเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมจำนวน 9 คณะ จากการวิเคราะห์ประมาณการรายรับที่ตั้งไว้เปรียบเทียบกับรายรับจริงทั้งหมดของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา พบว่า มีความแตกต่างกันในแต่ละปีงบประมาณและกลุ่มสาขาวิชา เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ค่าลงทะเบียนเรียน จำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น จำนวนหลักสูตรที่เปิดขึ้นใหม่ในแต่ละสาขาวิชามีจำนวนที่หลากหลาย การบริหารเงินลงทุนต่างๆ และจากการศึกษาประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์รายรายรับจริงเปรียบเทียบกับรายจ่ายจากการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา พบว่า ยังมีบางกลุ่มสาขาวิชาที่มีรายจ่ายจากการดำเนินงานสูงกว่ารายรับจริง ซึ่งควรมีการควบคุมค่าใช้จ่าย มุ่งเน้นการใช้จ่ายแบบประหยัด หรือมีการปรับลดกิจกรรม/โครงการที่ไม่จำเป็นลง มีการปรับแผนงบประมาณรายจ่ายให้มีความเหมาะสม โดยจัดทำคำของบประมาณประจำปีลดลงให้สอดคล้องกับรายรับจริง และมีการกำหนดกิจกรรมการจัดหารายได้เพิ่มเติม คำสำคัญ: วิเคราะห์ รายได้ งบประมาณ บริหาร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
Abstract: The purpose of this study was to analyze and to compare forecast income with real income of each across and to explore efficiency of operation. A sample was selected from three acrosses of university as follows: science and technology, health science, and humanities and social sciences. There were three faculties for each across including large size, medium size, and small size. Totally, there were nine faculties. The data was analyzed by using descriptive statistics, Pearson correlation and chi – square test for independence. According to the analysis and the comparison of the forecast income with the real income, it was found that there was the difference in each budget year and across caused by many factors including public relation of course, registration fee, the increase of student numbers in Bachelor’s degree, Master’s degree and Doctor’s degree, the numbers of new various opening courses of each across, investment management, and efficiency of education operation. Moreover, the analysis of the real income comparing to the expense from the operation of each across shows that some acrosses had higher expense from the operation than the real income. Therefore, they should control and save expense, decrease needless activities, and adjust expense budget-plan appropriately by requesting budget preparation to be consistent with the real income and organizing activities to increase the income. Keywords: Analysis Income Budget Management Chiang Mai University
บทความ :