ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย หลังจากมีการใช้นโยบาย มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนา
หัวข้อ (ENG): Domestic Tourism Behavior of Thai Tourists after the Implementation of Tax Policy for Promoting Tourism and Seminar
ผู้แต่ง : วิพรรณ ชูอรรถ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 12-Sep-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย รวมถึงการศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจต่อมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวในการหักลดหย่อนภาษี จำนวน 100 ราย และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่ใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวในการหักลดหย่อนภาษี จำนวน 200 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวัดระดับความพึงพอใจโดยใช้ Likert - scale จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเพศหญิง มีสถานภาพโสดและไม่มีบุตร ภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ จบระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปหรือทำงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 25,884 บาท โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเสียภาษีประจำปีไม่เกิน 5,000 บาท และมีอัตราการลดหย่อนภาษีในปีที่ผ่านมาน้อยกว่า 5,000 ส่วนใหญ่นิยมใช้เงินสมทบกบข.และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในการลดหย่อนภาษี นักท่องเที่ยวทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันในด้านความชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยว และเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวทุกๆครึ่งปี ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวในช่วง 2-3 เดือน ในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่นักท่องเที่ยวทั้งสองกลุ่มยังมีพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งสองชอบเดินทางท่องเที่ยวไปกับกลุ่มเพื่อนหรือครอบครัว จะมีการวางแผนในการหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและที่พักอาศัยก่อน นิยมเลือกที่พักเป็นโรงแรมหรือรีสอร์ท เลือกท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ โดยเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง ผลของนโยบายต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อมาตรการการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 15,000 บาทต่อปี พบว่านักท่องเที่ยวที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีมีความพึงพอใจเป็นอย่างมากต่อนโยบายความเหมาะสมของวงเงิน (15,000 บาท) ที่ได้รับการลดหย่อนภาษี ซึ่งกลุ่มนักท่องเทียวที่ไม่ใช้มาตรการลดหย่อนภาษี พบว่ามีความพึงพอใจในระดับปานกลาง เมื่อประเมินสถานที่พักที่เข้าร่วมโครงการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว พบว่านักท่องเที่ยวในกลุ่มใช้สิทธิลดหย่อนภาษีมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลางต่อลักษณะของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ คำสำคัญ : พฤติกรรม, นโยบาย, ภาษี, นักท่องเที่ยวชาวไทย, จังหวัดเชียงใหม่
Abstract: This study aims to analyze Thai tourists’ domestic tourism behavior and their attitude towards as well as satisfaction with the tourism tax break measure to boost tourism and promote the organization of domestic training or seminar programs in Thailand. The needed information was collected by close ended questionnaire from samples of two different categories of Thai tourists including 100 samples of those who used the benefit from this tourism tax break and 200 samples of those who did otherwise. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics and Likert’s scale rating. From the background information, the majority of the Thai tourists under study were found to be typically female, single in marital status and having no children, having domicile in the northern region, with bachelor’s degree education, employed as general wage worker or in private business firm and earning averagely 25,844 baht personal income per month. They generally pay personal income tax at no more than 5,000 baht per year and so far have been entitled to less than 5,000 baht deductions and allowances mostly using the items of retirement mutual fund contributions and approved provident fund contributions in the calculation of taxable income. The Thai tourists in the two different groups revealed different tourism appreciation behavior. Those who used the benefit from tourism tax break appreciated cultural tourism and opted for vocational travelling during the weekends once every six months. Meanwhile, those who did not use their rights to claim tourism tax deductions valued natural tourism and chose to do touring during official holidays once every 2–3 months. However, the Thai tourists in both groups shared some similar tourist behaviors such as travelling with friend or family, making plan before the trip by finding information about tourist attractions and accommodations, and staying in hotel or resort. Most of them also made travel decision upon information from on-line sources and their last tourism trip in Thailand was their own arrangement. In terms of policy effect of this tourism tax break up to a maximum of 15,000 baht per year to enhance tourists’ satisfaction, the present study found it to be realistic. Those Thai tourists who used this privilege expressed their high satisfaction at moderate level. Those who did not use the benefit from this measure rated their satisfaction at moderate level. Regarding tourists’ satisfaction with the hotels that participated in the tourism tax break program Key words : Behavior, Policy, Tax, Thai Tourists, Chiang Mai Province
บทความ :