ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมและคุณภาพชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่มาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Behavior and Quality of Life of Japanese Living Long Stay in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : ภัณฑิลา ทองพูล
ประเภท : Articles
Issue Date: 10-May-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเลือกมาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงพฤติกรรม คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจในการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณและมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่พำนักแบบการพำนักระยะยาว(Long Stay)ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 200 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวัดระดับความพึงพอใจโดยใช้ Likert - scale ผลการศึกษาพบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมาพำนักพร้อมกับคู่สมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ก่อนเกษียณประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือห้างร้าน มีรายได้เฉลี่ยก่อนเกษียณประมาณ 157,000 บาทต่อเดือน เมื่อเกษียณอายุส่วนใหญ่มีแหล่งรายได้จากเงินบำนาญ รายได้เฉลี่ยหลังเกษียณอายุประมาณ 85,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกมาพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด โดยปัจจัยผลักดันที่สำคัญที่สุดคือ ค่าครองชีพที่สูงในประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือ ความต้องการเริ่มชีวิตใหม่หลังเกษียณหรือต้องการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ปัจจัยดึงดูด ที่สำคัญที่สุด คือ ค่าครองชีพของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งต่ำกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นมาก รองลงมาคือ มีสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมดีไม่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น พฤติกรรมการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เลือกที่พักเป็นคอนโดมิเนียม โดยนิยมพำนักบริเวณย่านช้างเผือก – สันติธรรม – ตลาดสมเพชร มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 47,000 บาทต่อเดือน เมื่อเปรียบเทียบการพำนักที่ญี่ปุ่นและเชียงใหม่พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจในเชียงใหม่ดีกว่าญี่ปุ่น ขณะที่คุณภาพชีวิตด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีคุณภาพชีวิตทั้ง 3 ด้านนี้ในการพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นดีกว่าเชียงใหม่ สำหรับความพึงพอใจในการพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจมากในด้านที่พักอาศัย และพึงพอใจปานกลางในบริการสาธารณะ สภาพแวดล้อมของชุมชน และการติดต่อสื่อสาร คำสำคัญ : พฤติกรรม คุณภาพชีวิต พำนักระยะยาว ชาวญี่ปุ่น เชียงใหม่
Abstract: The objectives of the present study are to examine the factors inducing Japanese retirees to take long stay in Chiang Mai Province, to understand their consumer behaviors and quality of life, and to assess their satisfaction with their stay in Chiang Mai Province. The needed information for the investigation was collected by questionnaire survey from 200 samples of Japanese retirees aged above 50 years old, who have taken a long stay in Chiang Mai Province. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics and Likert’s scale rating of satisfaction. From the background information, most of the samples live with spouse, with bachelor’s degree, previously employed in private company or business store before retirement, earning averagely 157,000 baht monthly income while employed in Japan, and now having 85,000 baht average monthly income generally from pension. Both push and pull factors were the reasons for them to choose to stay in Chiang Mai for lengthy period. The most important push factor was the high cost of living in Japan followed by their desire to begin a new life after retirement in a foreign country. Meanwhile the primary pull factor was the much lower cost of living in Chiang Mai compared to Japan followed by the favorable climate and environmental condition in Chiang Mai which is similar to the situation in Japan. On consumer behavior, the study found that most Japanese retirees chose to live in condominium, in Chang Phuek, Santitham, and Sompet Market areas, and spend about 47,000 baht per month. In part of Quality of life, by comparison between living in Japan and living in Chiang Mai province, the quality of life in economic aspect was considered low in Japan and decent in Chiang Mai. Taking into account the social and environmental surroundings as well as the physical wellness, the Japanese retirees were of opinion that their quality of life in these three aspects was good when they were in Japan but was just average while living in Chiang Mai. Meanwhile, the assessment on satisfaction with long stay in Chiang Mai revealed that the Japanese retirees’ satisfaction level was high with housing accommodation, but was moderate with public services, community environment, and communications. Key words : behavior, quality of life, long stay, Japanese, Chiang mai
บทความ :