ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษจากโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยกรณีศึกษาตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Willingness to Pay for Reducing Pollution from Solid Waste BiogasPower Plant Project: Case Study of Bantan, Hod, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : ธันย์ชนก บุญจอง
ประเภท : Articles
Issue Date: 11-Jan-2016
บทคัดย่อ (THAI):

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประมาณความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษจากโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่ายในการลดมลพิษจากโรงผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในจังหวัดเชียงใหม่ โดยจะสุ่มตัวอย่างจากประชากรและสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถาม จำนวน 400 ครัวเรือน ปัจจัยพื้นฐานที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ โดยใช้วิธีประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยการสัมภาษณ์จากประชาชนโดยตรง (Contingent Valuation Method : CVM) จะใช้คำถามปลายปิด(Close-Ended Question) ในลักษณะของความเต็มใจ ที่จะจ่าย (Willingness to Pay : WTP)เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมมลพิษในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แบบจำลองสมการถดถอยแบบช่วง (Interval Regression Model) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าความเต็มใจจ่ายมากที่สุด คือ รายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือน(Income) ผู้ที่มีรายได้ต่อครัวเรือนมาก มีแนวโน้มเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษมากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน(Family size) จำนวนสมาชิกมาก มีแนวโน้มเต็มใจจ่ายในการลดมลพิษมากขึ้น อาชีพ(Occupation)อาชีพยิ่งมั่นคงมาก ยิ่งมีแนวโน้มเต็มใจจ่ายในการลดมลพิษมาก ดังนั้นผลจากการสุ่มตัวอย่างจากประชากรเพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยนั้น มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายโดยเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 70.12 บาท

Abstract:

          This study aims to (i) measure Willingness to pay for reducing pollution from solid waste biogas power plant project (ii) examine factors affecting willingness to pay for reducing pollution from solid waste biogas power plant project and (iii) guideline to development biogas power plant in Chiang Mai Province. The population for study is households who dwell around biogas power plant of Bantan, Hod, Chiang Mai Province. Sampling by questionnaire totally 400 sample for study socioeconomic factors that influence to willingness to pay composed of basic factors and recognition and attitude for biogas power plant factors. The basic factors of this study is gender, age, the number of housing, education, occupation, income. The recognition and attitude factors is benefit or effect from biogas power plant by contingent valuation method (CVM) with hypothetical market close and ended question was used to assess the amount which households are willingness to pay. Data use to analyze environment pollution information from biogas power plant project by Interval Regression Model. The mostly of factors have relationship to willingness to pay is income per household. If have hight income per household trends willingness to pay is more than low income per household. Next factors is family size. If have hight number of housing, trends willingness to pay is increase and factors occupation. If have constancy of occupation, trends willingness to pay is increase, The result form sampling population to valuation of willingness to pay for reducing pollution from solid waste biogas power plant was average 70.12 bath.

บทความ :