ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): แบบจำลองอุปสงค์การส่งออกข้าวนึ่งของประเทศไทย
หัวข้อ (ENG): The Modelof Export Demand for Thailand’s Parboiled Rice
ผู้แต่ง : พรภวิษณ์ เก่งการกิจ
ประเภท : Articles
Issue Date: 30-Nov-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสถานการณ์การส่งออกข้าวนึ่งไปยัง3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศโอมาน ประเทศโมซัมบิก และประเทศจอร์แดน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การส่งออกข้าวนึ่งของไทยไปยัง 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศโอมานประเทศโมซัมบิก และประเทศจอร์แดน วิธีการศึกษาในครั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายไตรมาสของราคาการส่งออกข้าวนึ่งจากประเทศไทยไป 3 ประเทศ ราคาส่งออกข้าวจากประเทศอินเดียไป 3 ประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใน 3 ประเทศอัตราเงินเฟ้อใน 3 ประเทศ และรายได้ประชาชาติของ 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศโอมาน, ประเทศโมซัมบิก และประเทศจอร์แดนตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2558 จำนวน 11 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้วิธีอนุกรมเวลา โดยการทดสอบความนิ่งของข้อมูลตัวแปรที่นำมาศึกษา (Unit Root Test) โดยวิธี Augmented Dickey – Fuller Test (ADF) นำตัวแปรที่ผ่านการทดสอบมาทดสอบหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวของตัวแปรที่กำหนดไว้ในแบบจำลองโดยวิธี Co-integrationของ Engle and Granger (โดยใช้รูปแบบสมการ ARDL) ทำการทดสอบการปรับตัวในระยะสั้นของตัวแปร เพื่อให้ปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว โดยประยุกต์ใช้เทคนิค Error Correction Model (ECM) ของ Engle and Granger ผลการศึกษาสถานการณ์การส่งออกข้าวนึ่งไปยัง 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศโอมาน ประเทศโมซัมบิก และประเทศจอร์แดนพบว่า สัดส่วนการนำเข้าข้าวนึ่งของทั้งสามประเทศ ระหว่างปี 2547 ถึง 2558 มีสัดส่วนร้อยละในการส่งออก เท่ากับ 0.34 0.14 และ 0.46 ตามลำดับ ในแต่ละปีมีการนำเข้าข้าวนึ่งจากประเทศไทยโดยตลอด ยกเว้นปี 2547 ที่ประเทศโมซัมบิกไม่มีการนำเข้าข้าวนึ่งจากประเทศไทย ส่วนปี 2551 ประเทศโอมานมีการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยในปริมาณที่สูงกว่าทั้งสองประเทศ ส่วนประเทศจอร์แดนมีการนำเข้าข้าวนึ่งจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกข้าวนึ่งกับประเทศโมซัมบิกจะมีปริมาณที่น้อยที่สุดในสามประเทศ อาจเนื่องมาจากประเทศโมซัมบิกมีการนำเข้าข้าวนึ่งจากประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากประเทศทั้งสอง การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การส่งออกข้าวนึ่งของไทยไปยัง 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศโอมานประเทศโมซัมบิก และประเทศจอร์แดนพบว่า ประเทศโอมาน พบว่ารายได้ประชาชาติมีความสัมพันธ์กับปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของไทยในทิศทางเดียวกัน และพบว่าข้าวนึ่งเป็นสินค้าปกติสำหรับประชากรประเทศโอมาน แต่อัตราเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของประเทศไทย ประเทศโมซัมบิก พบว่ารายได้ประชาชาติ และอัตราแลกเปลี่ยน มีความสัมพันธ์กับปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของไทยในทิศทางเดียวกัน และพบว่าข้าวนึ่งเป็นสินค้าปกติสำหรับประชากรประเทศโมซัมบิก แต่อัตราเงินเฟ้อ ราคาส่งออกข้าวนึ่งของไทย และราคาส่งออกข้าวนึ่งอินเดีย มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของประเทศไทย ประเทศจอร์แดนพบว่าไม่มีตัวแปรตัวใดที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งไทย ซึ่งอาจเป็นเพราะปัญหาการเมือง และความไม่สงบทั้งในและนอกประเทศจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของไทยไม่มีเสถียรภาพ การทดสอบความสัมพันธ์ในระยะสั้น พบว่าเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าที่เกิดขึ้นจริงและดุลยภาพของปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของไทย จะไม่มีการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวด้วยตนเอง คำสำคัญ: แบบจำลอง, อุปสงค์, การส่งออกข้าวนึ่ง, ประเทศไทย
Abstract: The research aims to study 1) parboiled rice exporting situation to 3 countries such as Oman, Mozambique, and Jordan 2) analyze the affecting factors on the demand of parboiled rice exporting situation to 3 countries namely Oman, Mozambique, and Jordan. Methods of this research are as follows. Research data were three months time series of Thailand’s parboiled rice exporting price to the 3 countries, India’s parboiled rice exporting price to the 3 countries, currency exchange rate of the 3 countries, inflation rate of the 3 countries, and national income of the 3 countries, Oman, Mozambique, and Jordan, from the year 2004 – 2015, total of 11 years. Data analysis was done using the time series followed Augmented Dickey-Fuller Test (ADF) method of unit root test on the studied variable. The tested variable then went through co-integration test of Engle and Granger, using ARDL equation. Then Error Correction Model was performed on the variable to create the co-integration by using a technique application from Error Correction Model : ECM of Engle and Granger. The study result of Thailand’s parboiled rice exporting situation to 3 countries namely Oman, Mozambique, and Jordan found that the 3 countries had the parboiled rice importing ratio between the year 2004 -2015 exporting percentage of 0.34, 0.14 and 0.46 respectively. There was a parboiled rice import from Thailand every year except in 2004; Mozambique did not have any parboiled rice import from Thailand. It was also found that the year 2008 Oman had the highest parboiled rice import from Thailand compared to the other 2 countries. Jordan had consecutively imported parboiled rice from Thailand. However, the export of parboiled rice to Mozambique was found in the lowest amount among 3 countries. This might be because Mozambique had also imported parboiled rice from South Africa and United States. These import value from the two countries might affect the finding number. The analysis of affecting factors on Thailand’s parboiled rice exporting demand to the 3 countries, Oman, Mozambique, and Jordan, was as follows. For Oman, it was found that the national income correlated in the same direction to Thailand’s parboiled rice export amount. Parboiled rice was a common good for Oman’s citizen. However, inflation rate correlated in the opposite direction to Thailand’s parboiled rice export amount. For Mozambique, it was found that the national income and currency exchange rate correlated in the same direction to Thailand’s parboiled rice export amount. Parboiled rice was found as a common good for Mozambique’s citizen. Nevertheless, inflation rate, Thailand’s parboiled rice export price, and India’s parboiled rice export price correlated in the opposite direction to Thailand’s parboiled rice export amount. For Jordan, it was found that there was no variable correlated to Thailand’s parboiled rice export amount. This may happen due to political issue and the inside and outside insurgency of Jordan. They affect the instability of Thailand’s parboiled rice export amount. Error Correction Model Test found that when there was deviation between the actual value and equilibrium of Thailand’s parboiled rice export amount, there would not be any self-adjustment to the long-run equilibrium. Key word: model, demand, export parboiled rice, Thailand
บทความ :